วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์บางระจัน

ประวัติศาสตร์บ้านบางระจัน









   

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย

 👯ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย (พ.ศ.  1780 - 1981)


👮การสถาปนากรุงสุโขทัย

     ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้
1.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สถาปนาเป็นกษัตริย์  โดยมีสุโขทัยเป็นราชธานี  ประมาณ  พ.ศ.  1781
2.พ่อขุนบางเมือง  เป็นโอรสองค์ที่สองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สิ้นรัชกาลราวปี  พ.ศ.  1820
3.พ่อขุนรามคำแหง  พระนามเดิมว่าร่วง  เป็นโอรพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับนางเสือง  เมื่อชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด  พระบิดาจึงทรงพระราชทานนามว่า  "รามคำแหง"  ทรงครองราชย์ตั้งแต่ราวปี  พ.ศ.  1822
4.พ่อเจ้าเลอไทย  ครองราชย์ปี พ.ศ. 1843
5.พระยางั่วนำถม  เริ่มรัชกาลเมืองใด ไม่ปรากฏชัด  แต่สิ้นรัชกาลราว  พ.ศ.  1890
6.พระมหาธรรมราชาที่  1  (พญาลิไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1890 - 1917
7.พระมหาธรรมราชาที่  2  (พระเจ้าไสยลือไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1917 - 1942  ช่วง  พ.ศ.  1921  ได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
8.พระมหาธรรมราชที่  3  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1942 - 1962  ได้ย้ายราชธานี จากสุโขทัยมาพิษณุโลก
9.พระมหาธรรมราชาที่  4  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1962 - 1981  เป็นกษัตริย์วงศ์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย 
     ยุคแรกของอาณาจักรสุโขทัย  มีเมืองใหญ่ที่สุโขทัย และเมืองเชลียง และมีเมืองเล็ก ๆ  อยู่ตามลุ่มแม่น้ำปิง  วัง  ยม  น่าน  ด้านเหนือติดเมืองแพร่  ด้านใต้ติดเมืองพระบาง (คือนครสวรรค์ในปัจจุบัน)  พลเมืองไม่มากนัก

ในสมัยพ่อขุนรามคำแห่ง ได้มีการแผ่ขยายอาณาเขตไปมากมาย
ทิศเหนือ   จดเขตล้านนาไทยที่ลำปาง
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จดเมืองแพร่  น่าน  พลั่ว (อำเภอปัวในจังหวัดน่าน ปัจจุบัน)  และหลวงพระบาง
ทิศตะวันออก  จดเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ
ทิศใต้  จดปลายแหลมมลายู
ทิศตะวันตก  ถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงเมืองฉอด  หวงสาวดี  ทวาย  และตะนาวศรี
     กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ครองราชย์สืบต่อกันมาเป็นเวลาราว  200  ปี  คือ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1780 - พ.ศ.  1981  แต่ในราวปี  พ.ศ.  1983  กลุ่มคนไทยทางตอนใต้กรุงสุโขทัย ได้สถาปนาอาณาจักรบริเวณลุ่มแน่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขึ้น  โดยมีพระรามาธิบดีที่  1  (พระเจ้าอู่ทอง)  เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยา


     อาณาจักรอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งดี  มีกษัตริย์ที่เข้มแข็ง ได้ขยายอำนาจเพิ่มขึ้นตามลำดับ  และสามารถยึดครองอาณาจักสุโขทัยเป็นประเทศราชได้ ในสมัยพระมหาธรรมราชที่  2  และต่อมาในปี  พ.ศ.  1981  ก็ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310)
การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

 ในราวปี  พ.ศ.  1893  เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ  จึงแข็งข้อ  เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่  พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง  และตอนล่าง  ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย  โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน  หรือบึงพระราม  ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน  เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา  ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย  จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่  พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  ครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นานเป็นเวลาถึง  20  ปี

แผนที่ประเทศไทยสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาโดยลำดับ  ทั้งนี้เพราะทำเลที่ตั้ง มีความเหมาะสมหลายประการ  คือ
ในด้านยุทธศาสตร์  มีภูมิประเทศเป็นเกาะ  มีแม่น้ำล้อมรอบ  3  สาย  ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำลพบุรี
ในด้านเศรษฐกิจ
เป็นศูนย์กลางการคมนาคม  เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านถึง  3  สาย
พื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะในการทำอาชีพเกษตรกรรม
ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า
ในการค้ากับต่างประเทศ
     
กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีอยู่เป็นระเวลาถึง  417  ปี  มีกษัตริย์ปกครองถึง  5  ราชวงศ์  ดังนี้
ราชวงศ์อู่ทอง  (พ.ศ.  1893 - 1913  และ  พ.ศ.  1931 - 1952)
ราชวงศ์สุวรรภูมิ (พ.ศ.  1913 - 1931  และ  พ.ศ.  1952 - 2112)
ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 - 2172)
ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ.  2172 - 2231)
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  (พ.ศ.  2231 - 2310)
การปกครอง
การจัดการปกครองในระยะแรก เป็นการนำเอาลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย และการปกครองของขอมเข้ามาใช้  ฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย คือ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ  ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ซึ่งเรียกว่า  การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

     การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยา แบ่งได้เป็น  2  สมัย  ดังนี้  คือ
สมัยอยุธยาตอนต้น  (พ.ศ.  1893 - 1991)   มีลักษณะดังนี้
การปกครองส่วนกลาง  หรือการปกครองภายในราชธานี  เรียกว่า  การปกครองแบบจตุสดมภ์  มีขุนนาง  4  ฝ่าย ทำหน้าที่ดังนี้
กรมเวียง     มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในราชธานี
กรมวัง        มีหน้าที่เกี่ยวกับงานพระราชพิธีต่าง ๆ
กรมคลัง       มีหน้าที่เก็บพระราชทรัพย์ และผลประโยชน์ของแผ่นดิน
กรมนา         มีหน้าที่ดูแลการทำเรือกสวนไร่นา  และเก็บเสบียงไว้ใช้ในยามสงคราม
การปกครองส่วนภูมิภาค  ได้แก่  เมืองที่อยู่นอกราชธานี  โปรดให้เจ้านาย และขุนนางที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง  แบ่งเป็น  3  ประเภท  ดังนี้
เมืองหน้าด่่าน   ได้แก่  เมืองที่อยู่รอบราชธานีทั้ง  4  ทิศ
เมืองชั้นใน      ได้แก่  เมืองที่อยู่ไม่ไกลราชธานีมากนัก
เมืองชั้นนอก    ได้แก่  เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมาก
หัวเมืองประเทศราช  ได้แก่  หัวเมืองที่อ่อนน้อม ยอมเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา  โปรดให้เจ้านายพื้นเมืองปกครองกันเอ
การปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ ในปี  พ.ศ.  1991  การปฏิรูปการปกครองดังกล่าว ได้ใช้ตลอดมาจนสิ้นสุดสมัยอยุธยา
ผลการปรับปรุงการปกครอง  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีดังนี้คือ
เปลี่ยนชื่อกรมต่าง ๆ  ของจตุสดมภ์  เป็นดังนี้
กรมเวียง  ใช้ชื่อว่า  นครบาล
กรมวัง     ใช้ชื่อว่า  ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง   ใช้ชื่อว่า  โกษธิบดี
กรมนา     ใช้ชื่อว่า   เกษตราธิการ
โปรดให้แยกงานฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน  โดยกำหนดให้สมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และสมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน
แบ่งหัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  ตามลำดับ
การปกครองหัวเมืองประเทศราช  โปรดให้เจ้านายของชนชาตินั้น ปกครองกันเอง  โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามลำดับ
        ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองในสมัยอยุธยา  คือการแย่งชิงราชสมบัติและอำนาจของขุนนางฝ่ายต่าง ๆ  เนื่องจากขาดความสามัคคี และไม่มีระบบการสืบราชสมบัติที่แน่นอนขาดประสิทธิภาพ

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช