วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์บางระจัน

ประวัติศาสตร์บ้านบางระจัน









   

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย

 👯ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย (พ.ศ.  1780 - 1981)


👮การสถาปนากรุงสุโขทัย

     ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้
1.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สถาปนาเป็นกษัตริย์  โดยมีสุโขทัยเป็นราชธานี  ประมาณ  พ.ศ.  1781
2.พ่อขุนบางเมือง  เป็นโอรสองค์ที่สองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สิ้นรัชกาลราวปี  พ.ศ.  1820
3.พ่อขุนรามคำแหง  พระนามเดิมว่าร่วง  เป็นโอรพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับนางเสือง  เมื่อชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด  พระบิดาจึงทรงพระราชทานนามว่า  "รามคำแหง"  ทรงครองราชย์ตั้งแต่ราวปี  พ.ศ.  1822
4.พ่อเจ้าเลอไทย  ครองราชย์ปี พ.ศ. 1843
5.พระยางั่วนำถม  เริ่มรัชกาลเมืองใด ไม่ปรากฏชัด  แต่สิ้นรัชกาลราว  พ.ศ.  1890
6.พระมหาธรรมราชาที่  1  (พญาลิไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1890 - 1917
7.พระมหาธรรมราชาที่  2  (พระเจ้าไสยลือไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1917 - 1942  ช่วง  พ.ศ.  1921  ได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
8.พระมหาธรรมราชที่  3  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1942 - 1962  ได้ย้ายราชธานี จากสุโขทัยมาพิษณุโลก
9.พระมหาธรรมราชาที่  4  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1962 - 1981  เป็นกษัตริย์วงศ์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย 
     ยุคแรกของอาณาจักรสุโขทัย  มีเมืองใหญ่ที่สุโขทัย และเมืองเชลียง และมีเมืองเล็ก ๆ  อยู่ตามลุ่มแม่น้ำปิง  วัง  ยม  น่าน  ด้านเหนือติดเมืองแพร่  ด้านใต้ติดเมืองพระบาง (คือนครสวรรค์ในปัจจุบัน)  พลเมืองไม่มากนัก

ในสมัยพ่อขุนรามคำแห่ง ได้มีการแผ่ขยายอาณาเขตไปมากมาย
ทิศเหนือ   จดเขตล้านนาไทยที่ลำปาง
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จดเมืองแพร่  น่าน  พลั่ว (อำเภอปัวในจังหวัดน่าน ปัจจุบัน)  และหลวงพระบาง
ทิศตะวันออก  จดเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ
ทิศใต้  จดปลายแหลมมลายู
ทิศตะวันตก  ถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงเมืองฉอด  หวงสาวดี  ทวาย  และตะนาวศรี
     กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ครองราชย์สืบต่อกันมาเป็นเวลาราว  200  ปี  คือ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1780 - พ.ศ.  1981  แต่ในราวปี  พ.ศ.  1983  กลุ่มคนไทยทางตอนใต้กรุงสุโขทัย ได้สถาปนาอาณาจักรบริเวณลุ่มแน่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขึ้น  โดยมีพระรามาธิบดีที่  1  (พระเจ้าอู่ทอง)  เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยา


     อาณาจักรอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งดี  มีกษัตริย์ที่เข้มแข็ง ได้ขยายอำนาจเพิ่มขึ้นตามลำดับ  และสามารถยึดครองอาณาจักสุโขทัยเป็นประเทศราชได้ ในสมัยพระมหาธรรมราชที่  2  และต่อมาในปี  พ.ศ.  1981  ก็ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310)
การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

 ในราวปี  พ.ศ.  1893  เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ  จึงแข็งข้อ  เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่  พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง  และตอนล่าง  ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย  โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน  หรือบึงพระราม  ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน  เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา  ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย  จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่  พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  ครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นานเป็นเวลาถึง  20  ปี

แผนที่ประเทศไทยสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาโดยลำดับ  ทั้งนี้เพราะทำเลที่ตั้ง มีความเหมาะสมหลายประการ  คือ
ในด้านยุทธศาสตร์  มีภูมิประเทศเป็นเกาะ  มีแม่น้ำล้อมรอบ  3  สาย  ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำลพบุรี
ในด้านเศรษฐกิจ
เป็นศูนย์กลางการคมนาคม  เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านถึง  3  สาย
พื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะในการทำอาชีพเกษตรกรรม
ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า
ในการค้ากับต่างประเทศ
     
กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีอยู่เป็นระเวลาถึง  417  ปี  มีกษัตริย์ปกครองถึง  5  ราชวงศ์  ดังนี้
ราชวงศ์อู่ทอง  (พ.ศ.  1893 - 1913  และ  พ.ศ.  1931 - 1952)
ราชวงศ์สุวรรภูมิ (พ.ศ.  1913 - 1931  และ  พ.ศ.  1952 - 2112)
ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 - 2172)
ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ.  2172 - 2231)
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  (พ.ศ.  2231 - 2310)
การปกครอง
การจัดการปกครองในระยะแรก เป็นการนำเอาลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย และการปกครองของขอมเข้ามาใช้  ฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย คือ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ  ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ซึ่งเรียกว่า  การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

     การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยา แบ่งได้เป็น  2  สมัย  ดังนี้  คือ
สมัยอยุธยาตอนต้น  (พ.ศ.  1893 - 1991)   มีลักษณะดังนี้
การปกครองส่วนกลาง  หรือการปกครองภายในราชธานี  เรียกว่า  การปกครองแบบจตุสดมภ์  มีขุนนาง  4  ฝ่าย ทำหน้าที่ดังนี้
กรมเวียง     มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในราชธานี
กรมวัง        มีหน้าที่เกี่ยวกับงานพระราชพิธีต่าง ๆ
กรมคลัง       มีหน้าที่เก็บพระราชทรัพย์ และผลประโยชน์ของแผ่นดิน
กรมนา         มีหน้าที่ดูแลการทำเรือกสวนไร่นา  และเก็บเสบียงไว้ใช้ในยามสงคราม
การปกครองส่วนภูมิภาค  ได้แก่  เมืองที่อยู่นอกราชธานี  โปรดให้เจ้านาย และขุนนางที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง  แบ่งเป็น  3  ประเภท  ดังนี้
เมืองหน้าด่่าน   ได้แก่  เมืองที่อยู่รอบราชธานีทั้ง  4  ทิศ
เมืองชั้นใน      ได้แก่  เมืองที่อยู่ไม่ไกลราชธานีมากนัก
เมืองชั้นนอก    ได้แก่  เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมาก
หัวเมืองประเทศราช  ได้แก่  หัวเมืองที่อ่อนน้อม ยอมเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา  โปรดให้เจ้านายพื้นเมืองปกครองกันเอ
การปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ ในปี  พ.ศ.  1991  การปฏิรูปการปกครองดังกล่าว ได้ใช้ตลอดมาจนสิ้นสุดสมัยอยุธยา
ผลการปรับปรุงการปกครอง  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีดังนี้คือ
เปลี่ยนชื่อกรมต่าง ๆ  ของจตุสดมภ์  เป็นดังนี้
กรมเวียง  ใช้ชื่อว่า  นครบาล
กรมวัง     ใช้ชื่อว่า  ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง   ใช้ชื่อว่า  โกษธิบดี
กรมนา     ใช้ชื่อว่า   เกษตราธิการ
โปรดให้แยกงานฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน  โดยกำหนดให้สมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และสมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน
แบ่งหัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  ตามลำดับ
การปกครองหัวเมืองประเทศราช  โปรดให้เจ้านายของชนชาตินั้น ปกครองกันเอง  โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามลำดับ
        ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองในสมัยอยุธยา  คือการแย่งชิงราชสมบัติและอำนาจของขุนนางฝ่ายต่าง ๆ  เนื่องจากขาดความสามัคคี และไม่มีระบบการสืบราชสมบัติที่แน่นอนขาดประสิทธิภาพ

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2


ประวัติศาสตร์สากล



ยุคก่อนประวัติศาสตร์
             ยุคหิน
ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)  
    1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช
    2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า
    3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ
    4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ
    5. รู้จักใช้ไฟ
    6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา
    7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)
    1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
    2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ
    3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น  จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ
    4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ
ยุคหินใหม่
    1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
    2. ผลิตอาหารได้เอง  รู้จักเก็บกักอาหาร  หยุดเร่ร่อน
    3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น
    4. รู้จักการทอผ้า  เครื่องปั้นดินเผา  ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ
    5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน
    6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์  เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์


ยุคประวัติศาสตร์
            
             การแบ่งสมัยในยุคประวัติศาสตร์จะแบ่งโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยเป็นตัวแบ่ง ซึ่งมีคนแบ่งเอาไว้หลายแนวทาง เพราะมันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนให้เราเห็น แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น

 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ

              ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของชาติตะวันตก เริ่มตั้งแต่เมื่อชนชาวสุเมเรียนประดิษฐ์ตัวอักษรรูปลิ่ม หรือตัวอักษรคูนิฟอร์ม ( Cuneiform ) ขึ้นใช้เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตร์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลาย เพราะถูกรุกรานโดยพวกอนารยชนเผ่าเยอรมัน ในปี ค.ศ.476 มีการก่อตัวของ อารยธรรมโดยถ่ายทอดสืบต่อกันมาเริ่มตั้งแต่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก และโรมัน

          อารยธรรมอียิปต์
          อียิปต์เป็นแหล่งอารยธรรมสมัยโบราณ ศูนย์กลางของอารยธรรมอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำไนล์ มีปราการธรรมชาติเป็นทะเลทราย ล้อมรอบ เป็นสังคมเกษตรกรรมที่พัฒนามาจนเป็นเมือง  (โมนิส) ขยายพื้นที่เพาะปลูก  สร้างเขื่อน  กษัตริย์ที่ขึ้นปกครอง เรียกว่า ฟาโรห์ เป็นกึ่งกษัตริย์กึ่งเทพเจ้า 


             อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
             บริเวณเมโสโปเตเมียก็น่าจะมีชื่ออย่างเดียวกัน ว่าเป็นของขวัญแห่งลุ่มแม่น้ำไทกริส- ยูเฟรติส” แม่น้ำ ทั้งสองมีต้นกำเนิดบริเวณที่ราบสูง อาร์มาเนียน ไหลมาทางตะวันออกเฉียงใต้ สู่อ่าวเปอร์เซียปัจจุบันนี้แม่น้ำทั้งสองไหลมา รวมกันที่บัสรา(Basra) ในสมัยโบราณนั้น จะไหลตัดเดลต้าออกจากกัน โคลนตมที่แม่น้ำ ทั้งสองพัดมาทับถมกันนั้นเป็นดินสมบูรณ์ซึ่งม ีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ดินแดนนี้มีชื่อว่า “ ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” คือ เมโสโปเตเมีย
  
  
           
            อารยธรรมโรมัน



         โรมันเป็นพวก อินโดยูโรเปียน ย้ายเข้ามาอยู่ใน  แหลมอิตาลี กลุ่มที่อพยพเข้ามา เรียกรวมๆว่า  อิตาลิก ( Italic) แต่กลุ่มคนที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ พวกลาติน ซึ่งเอาชนะชาว พื้นเมืองอีทรัสกัส และสร้างอาณาจักรโรมขึ้นมา รวมทั้งกรุงโรมด้วย


ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
              เริ่มเมื่อปีค.ศ. 476 แต่ระยะเวลาสิ้นสุดนั้น บางกลุ่มถือเอาตอนที่กรุงสแตนติโนเปิลตกเป็นของพวกเติร์ก ในปีค.ศ.1453 แต่บางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดเมื่อมีการค้นพบทวีปอเมริกา ในปีค.ศ. 1492 และบางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดลงพร้อมกับการเริ่มต้นการปฏิรูปต่างๆ ในยุโรป

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
             เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ. 1900 และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้


 เรื่องของหลักฐานทางประวัติศาตร์
         
             มีการแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทคือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ (Material Remains) กับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written accounts)

สงครามโลก
            เป็นลักษณะความขัดแย้งทางการทหารในระดับชาติ ซึ่งเกิดจากหลายชาติร่วมกัน โดยมักจะเกิดขึ้นในหลายทวีปทั่วโลกและมักจะเกิดความเสียหายไปทั่ว ในอดีตเกิดสงครามโลก 2 ครั้งคือ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914-1919 และ สงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1939-1945 ถึงแม้ว่าสงครามอื่นที่เกิดขึ้นจากหลายชาติทั่วโลก เช่น สงครามเย็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามอิรักในช่วงปี ค.ศ. 2003-2005 ยังไม่ถูกเรียกว่าเป็นสงครามโลก
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
           องค์การสันนิบาตชาติ
           ตั้งขึ้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
โครงสร้างของสันนิบาตชาติ
1. สมัชชา หมายถึง ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ
2. คณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การ ประกอบด้วย
   - สมาชิกถาวร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหภาพโซเวียต
   - สมาชิกไม่ถาวร ได้แก่ประเทศที่ได้รับเลือกจากสมัชชา หมุนเวียนกันทุกปี 4 ประเทศ
3. สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่บริหารและเลือกคณะมนตรี
4. คณะกรรมาธิการ จัดการเกี่ยวกับงานเศรษฐกิจและสังคม
5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ
ข้อเสียขององค์การสันนิบาตชาติ  ได้แก่
1. ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากสหรัฐอเมริกา
2. ไม่มีกองกำลังทหารเป็นของตนเอง
3. ประเทศสมาชิกคำนึงถึงประโยชน์ของตนมากกว่าการรักษาสันติภาพของโลก
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
           องค์การสหประชาชาติ ( The United Nations ) 
 การก่อตั้ง
1.  ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด  มหาอำนาจประชุมกันหลายครั้งเพื่อสร้างสันติภาพ  ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ  คือ  ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รุสเวลต์  แห่งสหรัฐอเมริกา  เซอร์วินสตัน เชอร์ชลส์  นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
2.  ได้กำหนดกฎบัตรแอตแลนติก  วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.1941  เพื่อจัดตั้งองค์การเพื่อทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลก  ต่อมาได้ร่วมมือกับประเทศผู้แพ้สงคราม  ลงนามในปริญญาสหประชาชาติ  วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1942  เป็นจุดเริ่มต้นของคำว่าสหประชาชาติ  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
3.  ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม , 28 กันยายน ค.ศ.1944  ฝ่ายสัมพันธมิตร  ได้จัดให้มีการประชุมที่กรุงวอชิงตัน  ที่ประชุมเสนอให้มีการจัดตั้ง  องค์การสหประชาชาติ  และประชุมอีกครั้งที่สหภาพโซเวียต  เพื่อแก้ความขัดแย้งเรื่องคณะมนตรีความมั่นคง
4.  ประเทศต่างๆ 51 ประเทศ  ได้ลงนามรับรองกฎบัตรสหประชาชาติ  ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1945
วัตถุประสงค์
1.  ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ  ระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี
2.  พัฒนาสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ
3.  แก้ปัญหาเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  มนุษยะรรมและสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชน
4.  เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและประสานงานของชาติต่างๆ
           สมัชชาใหญ่     เป็นที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิก  กำหนดกิจกรรมขององค์การ  รับรายงานเรื่องต่างๆ  ควบคุมงบประมาณ  เลิอกบุคคากรในองค์กรต่างๆ
           คณะมนตรีความมั่นคง  มีหน้าที่การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ  มีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบข้อขัดแย้งใดๆที่อาจจะกระทบต่อความมั่น คงและสันติภาพ  ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 15 ชาติ  แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
-  สมาชิกถาวร  ได้แก่  สหรัฐอเมริกา  โซเวียต  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  และจีน
-  สมาชิกไม่ถาวร  ได้แก่  สมาชิกที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้ง 10 ประเทศ  ในการลงมติต้องได้รับเสียงไม่ต่ำกว่า 9 เสียงและสมาชิกถาวรต้องไม่ออกเสียงคัดค้าน  มตินั้นจึงจะถือว่าผ่าน
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม    :  ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม
คณะมนตรีภาวะทรัสดี    :  ให้คำปรึกษาการบริหารดินแดนในภาวะทรัสดี
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  :  พิพากษาคดีข้อขัดแย้งทางกฎหมายของประเทศต่างๆ หรือหน่วยงานอื่น
องค์การพิเศษอื่นๆ
1.  สหประชาชาติจัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามความจำเป็นกรณี  เช่น  สำนักงานใหญ่ข้าหลวง  ดำเนินงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ( United Nations Commisiener for Refogees : UNHCR )  โครงการพัฒนาสหประชาชาติ  ( United Nations Development Project : UNDP )
2.  คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม  ประสานงานกับทบวงชำนัญพิเศษ  เพื่อร่วมมือดำเนินกิจกกรมระหว่างประเทศ  ปฏิบัติงานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของประชาชนในประเทศต่างๆ  เช่น  องค์การอนามัยโลก ( World Health Organixation : WHO )  องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห
ประชาชาติ ( United Nations Education , Scientific and Cutural Organization : UNESCO )  กองทุนเงินระหว่างประเทศ ( International Monelary Fond : IMF )
ข้อจำกัดบทบาทของสหประชาชาติ
1.  ปัญหาการใช้สิทธิยับยั้ง
2.  ปัญหาค่าใช้จ่ายขององค์การ
3.  ปัญหาการขาดอำนาจบังคับอย่างเด็ดขาด
4.  ความจำกัดในขอบเขตแห่งการดำเนินงาน
5.  การขยายอำนาจและแทรกแซงอำนาจของประเทศมหาอำนาจ


ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

           


             เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ คือ จีนกับอินเดีย ลักษณะภูมิประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ ประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย (ตะวันตก) ส่วนที่เป็นเกาะ ได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย (ตะวันออก) และติมอร์ คำว่า "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เริ่มใช้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ หรือฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ตั้งศูนย์บัญชาการการรบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นใน ค.ศ.1943 เพื่อทำสงครามกับญี่ปุ่น การเรียกชื่อแบบร้เพราะ เพื่อความเด่นชัดในทางด้านภูมิศาสตร์
     
แว่นแคว้นโบราณในภาคพื้นทวีป

            1.เวียดนาม   
            หลักฐานชุมชนที่เก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ชุมชนชาวเหยอะและชาวโล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวเวียดนามในปัจจุบันชนชาติเวียดและชาวโลอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน   จนถึงตอนเหนือของเว้ในปัจจุบัน บริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงจนถึงปากแม่น้ำแดง โดยตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ในพ.ศ.432จีนจึงเข้ามายึดครองดินแดนบริเวณนี้และปกครองชาวเวียดนาม จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1511 เวียดนามได้ประกาศตนเป็นเอกราช และแต่งตั้งเมืองหลวง คือถังหลวง (ฮานอยในปัจจุบัน)
           จากการที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของจีนมานานนับพันปี ทำให้ชาวเวียดนามผูกพันอย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรมจีน โดยรับวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน

            2.จามปา
           ดินแดนของจามปาในอดีต ได้แก่ ส่วนที่เป็นดินแดนตอนกลางของประเทศเวียดนาม ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์จดหมายเหตุจีนบอกรายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีแต่งงานว่ามักทำในเดือน 8 โดยฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายสู่ขอชาย บ้านเรือนราษฎรสร้างด้วยอิฐก่อเป็นอาคาร เมื่อตายใช้ผ้าห่อศพเรียบร้อยแล้วแห่ไปยังแม่น้ำหรือทะเลแล้วเผาศพที่นั่น นำเถ้าถ่านทิ้งน้ำ เมืองหลวงของจามปา คือ เมืองอินทรปุระ จามปาต้องเผชิญกับการรุกรานของรัฐข้างเคียงที่เข้มแข็งกว่า เช่น เวียดนาม จีน และกัมพูชา และสูญเสียเอกราชแก่เวียดนาม เมื่อ พ.ศ. 2014 ชาวจามปาต้องอพยพหลบหนีออกไปอยู่ต่างแดนกระจัดกระจาย จามปาก็ล่มสลายไปตั้งแต่ครั้งนั้น

           3.เจนละ
           มีศูนย์กลางอยู่ในดินแดนลาวตอนล่าง จากหลักฐานที่พบที่เมืองศรีเทพ และที่จังหวัดสระบุรี ทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนแถบนี้ก็อยู่ในเขตอิทธิพลของเจนละด้วย กษัตริย์ที่ เข้มแข็งที่สุดของเจนละ คือ พระเจ้าอิสานวรมัน ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง เจนละรับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อย่างเคร่งครัด มีการสร้างเทวาลัย เทวรูป ปราสาทหิน มีพิธีบูชาเทพเจ้าในเทวาลัยบนยอดเขาและใช้ภาษาสันสกฤต เจนละเสียอำนาจแก่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2  ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ฟูนัน ล้มล้างอำนาจของเจนละและสถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้น

           4.มอญ
          ตั้งอยู่บริเวณระหว่างที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสะโตงและแม่น้ำสาละวิน จากหลักฐานชาวอาหรับเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า รามัญประเทศ และพงศาวดารมอญกล่าวว่าชาวมอญได้สร้างเมืองตะโทงหรือเรียกกันว่า ท่าตอน เป็นเมืองหลวงใน พ.ศ. 241 และเจริญรุ่งเรืองมาจนถึง พ.ศ. 1600 ชาวพม่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศพม่าปัจจุบันได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็นอาณาจักรพุกามที่มีความเข้มแข็งตามลำดับ ได้ยกทัพมาโจมตีมอญและครอบครองได้สำเร็จ ทั้งนี้ทำให้พม่าได้ยอมรับวัฒนธรรมของมอญที่ชาวมอญเป็นผู้ถ่ายทอดให้ไปปฏิบัติ เช่นการนับถือพระพุทธศาสนานิกายหีนยาน เป็นต้น

            5.พุกาม
            ดินแดนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีของพม่าเดิมมีชาวมอญได้มาสร้างบ้านเรือนเป็นอาณาจักรมอญ และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่14 ชาวพม่าที่อาศัยอยู่ทางเหนือของประเทศพม่าในปัจจุบันได้ขยายอำนาจมายังที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีแทนที่อาณาจักรของมอญ ต่อมา พ.ศ. 1587 ผู้นำชาวพม่า คือ พระเจ้าอโนรทา สามารถก่อตั้งอาณาจักรพุกามเป็นปึกแผ่นขึ้นได้สำเร็จ และมีความเจริญรุ่งเรือง สามารถขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งความเจริญรุ่งเรืองดังกล่าวเห็นได้จากการสร้างวัดขนาดใหญ่จำนวนมาก จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 19 จึงสลายตัวเนื่องจากถูกกองทัพของมองโกลยึดครองได้เมื่อ พ.ศ. 1830

            6.ทวารวดี
            ทวารวดีเป็นอาณาจักรโบราณสมัยประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานแห่งแรกบนผืนแผ่นดินไทย เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง เช่น บันทึกการเดินทางของหลวงจีนอี้จิง ทำให้ทราบว่าอาณาจักรทวารวดีอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันตกของภาคกลางสันนิษฐานว่าศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีอยู่ที่จังหวัดนครปฐมและจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) พบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่แสดงถึงการเป็นเมืองสำคัญของนครปฐมในสมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรมจักรและโบราณสถานขนาดใหญ่ เช่น เจดีย์จุลประโทนและฐานอาคารที่วัดพระเมรุ นอกจากนี้ยังได้พบเหรียญเงินที่มีจารึกชื่อทวารวดีในเมืองใกล้เคียง ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ช่วงระยะที่อาณาจักรแห่งนี้ดำรง อยู่คงจะประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 - 12



          
                                                                                                    
              7. หริภุญชัย
              ตั้งอยู่ที่เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เป็นอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของเมืองต่างๆ ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนและที่ราบลุ่มแม่น้ำวัง ตำนานเมืองหริภุญชัยหรือตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวถึงการตั้งเมือง หริภุญชัยว่า ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมือง หริภุญชัยและขอให้กษัตริย์ละโว้ ส่งเชื้อพระวงศ์มาปกครอง กษัตริย์ละโว้จึงส่งพระนางจามเทวี ผู้เป็นพระราชธิดาเลี้ยงและสะใภ้หลวงมาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย พระนางจามเทวีได้ขอช่างฝีมือจากละโว้ไปช่วยสร้างเมือง หริภุญชัยและเชิญพระสงฆ์ 500 รูป มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่หริภุญชัย ทำให้หริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ และศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ดังที่มีหลักฐานมาจนถึงปัจจุบัน คือ พระธาตุหริภุญชัย ซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองลำพูน ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าอาทิตยราชเป็นผู้สร้างเจดีย์หริภุญชัย ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกาและเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำพูนอย่างสูง


                8.ละโว้
               เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยทวารวดี ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก  มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน การที่ละโว้ตั้งอยู่บริเวณที่มีแม่น้ำสายสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี จึงเป็นอาณาจักรที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีเส้นทางติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสัก ที่ราบสูงโคราช และเขตติดต่อกับทะเลสาบเขมร ทำให้ละโว้เป็นแหล่งทรัพยากรและศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนโดยรอบ ส่งผลให้ละโว้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดีและการติดต่อกับชุมชนภายนอก ทำให้ละโว้ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ ที่สำคัญคือจากอินเดีย เมื่อขอมหรือเขมรขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ละโว้จึงกลายเป็นเมืองประเทศราชของเขมรและรับอารยธรรมเขมรด้วย



                ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นช่วงที่อาณาจักรละโว้ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียค่อน ข้างมาก โดยรับแนวคิดเรื่องการมีกษัตริย์ปกครอง มีการแบ่งชนชั้นออกเป็นชนชั้นสูง สามัญชน และทาส การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาที่ผู้คนให้การเคารพนับถือมากใน ละโว้ ทั้งนี้เพราะพบจารึกภาษาบาลีที่กล่าวถึงการอุทิศถวายสิ่งของ ข้าทาสให้แก่วัด และพบประติมากรรม เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักร เป็นต้น นอกจากนี้พระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ได้เผยแผ่อยู่ในละโว้ ดังพบพระพิมพ์ที่มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับข้างพระพุทธเจ้ารวมทั้งการมีความเชื่อในศาสนพราหมณ์-ฮินดู ที่เข้ามาโดยพวกพราหมณ์และชนชั้นปกครองและความเชื่อพื้นเมือง ได้แก่ การบูชาบรรพบุรุษและการบูชารูปพระราชมารดาอีกด้วย

แว่นแคว้นโบราณในคาบสมุทรและหมู่เกาะ
            1. ทุน ซุน
            จากบันทึกชาวจีนกล่าวว่าทุนซุนตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูทางใต้ของฟูนัน ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่บริเวณคอคอดกระ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของไทย ทุน ซุนถือเป็นเมืองที่ควบคุมเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรที่สามารถติดต่อกับอ่าวตังเกี๋ยทางทิศตะวันออกและอินเดียทางทิศตะวันตกได้
            2.ตามพรลิงค์
           เป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่สุดทางภาคใต้ของไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช โดยมีหลักฐานที่กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 ตามพรลิงค์เปลี่ยนชื่อเป็น นครศรีธรรมราช และราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 มีอิทธิพลครอบคลุมบรรดาหัวเมืองและแว่นแคว้นอื่นๆ ทั่วแหลมมลายู มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในปลายพุทธศตวรรษที่ 20
           อาณาจักรนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าของพ่อค้าชาวอินเดีย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 ในระยะแรกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย แต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง ทำให้ตามพรลิงค์ขยายตัวกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการเมืองในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้แทน และจากหลักฐานจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ว่าเป็นเมืองท่าการค้าที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากับจีนมากชนิดกว่าที่อื่น และได้ส่งคณะทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการกับจีนใน พ.ศ.1613 ซึ่งแสดงว่าตามพรลิงค์เป็นรัฐอิสระ
            3. พัน พัน
           จากบันทึกชาวจีนกล่าวว่า พัน พัน ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูแถบริมฝั่งทะเล ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่บริเวณอำเภอพุนพินหรือบริเวณอ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานีของไทยในปัจจุบัน
           4. ลังกาสุกะ
            ก่อตั้งขึ้นราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 7 มีหลักฐานปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์เหลียง ที่กล่าวถึงอาณาจักรลังกาสุกะ โดยเรียกชื่อว่า หลวงหยาซิ่วมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดปัตตานีและยะลา มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ลังกาสุกะเป็นอาณาจักรที่เติบโตมาจากการเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติโดยเฉพาะจีนแลอินเดีย แต่มีความใกล้ชิดกับจีนมากกว่า โดยมีหลักฐานจีนบันทึกไว้ว่า ลังกาสุกะส่งทูตไปเมืองจีนหลายครั้ง
           5. ฉีตู
           จากบันทึกชาวจีนกล่าวว่า ฉีตูตั้งอยู่ทางใต้ของตามพรลิงค์ ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่ามีเมืองหลวงอยู่บริเวณกลันตัน พัทลุง หรือนครศรีธรรมราช
             6. ตักโกลา
             ตั้งอยู่ฝั่งทะเลด้านตะวันตกของคาบสมุทร สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่บริเวณอ่าวพังงาและตะกั่วป่า ในอดีตเมืองตักโกลาเป็นเมืองท่าสำคัญที่พ่อค้าและนักเดินเรือทั้งชาวจีนและอินเดียรู้จักเป็นอย่าดี
            7. ศรีวิชัย
             ได้ปรากฏนามเป็นครั้งแรกจากเอกสารจีน และต่อมาเมื่อมีการค้นพบศิลาจารึกและบันทึกของชาวอินเดียที่มีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 ก็เป็นสิ่งยืนยันถึงการมีอยู่ของอาณาจักรแห่งนี้ อาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่เกาะชวาในอินโดนีเซียขึ้นมาถึงเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
             อาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเพราะอยู่ในเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างจีน อินเดีย และอาหรับ เป็นเมืองที่เกิดจากการรวมตัวกันของเมืองท่าบริเวณช่องแคบมะละกา เอกสารร่วมสมัยของชาวต่างชาติที่เคยเดินทางมายังอาณาจักรแห่งนี้ระบุว่า ศรีวิชัยเป็นดินแดนที่มั่งคั่งร่ำรวย พลเมืองที่อยู่ในอาณาจักรศรีวิชัยเป็นชาวพื้นเมืองปะปนกับพ่อค้าต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาตั้งหลักแหล่งในเวลาต่อมา โดยมีกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ปกครองอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ชวา
            อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 เพราะถูกอาณาจักรโจฬะ ซึ่งปกครองอินเดียตอนใต้ส่งกองทัพเรือเข้าโจมตีอาณาจักรศรีวิชัยและเมืองอื่นๆ ในอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย ทำให้อำนาจทางการเมืองของศรีวิชัยสิ้นสุดลง ส่วนอำนาจทางการค้าเริ่มตกต่ำลงเมื่อจีนเริ่มแต่งเรือสำเภาออกไปค้าขายยังเมืองต่างๆเองอาณาจักรศรีวิชัยในฐานะพ่อค้าคนกลางจึงลดบทบาทลงไป