วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310)
การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

 ในราวปี  พ.ศ.  1893  เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ  จึงแข็งข้อ  เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่  พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง  และตอนล่าง  ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย  โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน  หรือบึงพระราม  ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน  เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา  ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย  จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่  พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  ครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นานเป็นเวลาถึง  20  ปี

แผนที่ประเทศไทยสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาโดยลำดับ  ทั้งนี้เพราะทำเลที่ตั้ง มีความเหมาะสมหลายประการ  คือ
ในด้านยุทธศาสตร์  มีภูมิประเทศเป็นเกาะ  มีแม่น้ำล้อมรอบ  3  สาย  ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำลพบุรี
ในด้านเศรษฐกิจ
เป็นศูนย์กลางการคมนาคม  เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านถึง  3  สาย
พื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะในการทำอาชีพเกษตรกรรม
ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า
ในการค้ากับต่างประเทศ
     
กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีอยู่เป็นระเวลาถึง  417  ปี  มีกษัตริย์ปกครองถึง  5  ราชวงศ์  ดังนี้
ราชวงศ์อู่ทอง  (พ.ศ.  1893 - 1913  และ  พ.ศ.  1931 - 1952)
ราชวงศ์สุวรรภูมิ (พ.ศ.  1913 - 1931  และ  พ.ศ.  1952 - 2112)
ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 - 2172)
ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ.  2172 - 2231)
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  (พ.ศ.  2231 - 2310)
การปกครอง
การจัดการปกครองในระยะแรก เป็นการนำเอาลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย และการปกครองของขอมเข้ามาใช้  ฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย คือ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ  ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ซึ่งเรียกว่า  การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

     การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยา แบ่งได้เป็น  2  สมัย  ดังนี้  คือ
สมัยอยุธยาตอนต้น  (พ.ศ.  1893 - 1991)   มีลักษณะดังนี้
การปกครองส่วนกลาง  หรือการปกครองภายในราชธานี  เรียกว่า  การปกครองแบบจตุสดมภ์  มีขุนนาง  4  ฝ่าย ทำหน้าที่ดังนี้
กรมเวียง     มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในราชธานี
กรมวัง        มีหน้าที่เกี่ยวกับงานพระราชพิธีต่าง ๆ
กรมคลัง       มีหน้าที่เก็บพระราชทรัพย์ และผลประโยชน์ของแผ่นดิน
กรมนา         มีหน้าที่ดูแลการทำเรือกสวนไร่นา  และเก็บเสบียงไว้ใช้ในยามสงคราม
การปกครองส่วนภูมิภาค  ได้แก่  เมืองที่อยู่นอกราชธานี  โปรดให้เจ้านาย และขุนนางที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง  แบ่งเป็น  3  ประเภท  ดังนี้
เมืองหน้าด่่าน   ได้แก่  เมืองที่อยู่รอบราชธานีทั้ง  4  ทิศ
เมืองชั้นใน      ได้แก่  เมืองที่อยู่ไม่ไกลราชธานีมากนัก
เมืองชั้นนอก    ได้แก่  เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมาก
หัวเมืองประเทศราช  ได้แก่  หัวเมืองที่อ่อนน้อม ยอมเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา  โปรดให้เจ้านายพื้นเมืองปกครองกันเอ
การปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ ในปี  พ.ศ.  1991  การปฏิรูปการปกครองดังกล่าว ได้ใช้ตลอดมาจนสิ้นสุดสมัยอยุธยา
ผลการปรับปรุงการปกครอง  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีดังนี้คือ
เปลี่ยนชื่อกรมต่าง ๆ  ของจตุสดมภ์  เป็นดังนี้
กรมเวียง  ใช้ชื่อว่า  นครบาล
กรมวัง     ใช้ชื่อว่า  ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง   ใช้ชื่อว่า  โกษธิบดี
กรมนา     ใช้ชื่อว่า   เกษตราธิการ
โปรดให้แยกงานฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน  โดยกำหนดให้สมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และสมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน
แบ่งหัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  ตามลำดับ
การปกครองหัวเมืองประเทศราช  โปรดให้เจ้านายของชนชาตินั้น ปกครองกันเอง  โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามลำดับ
        ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองในสมัยอยุธยา  คือการแย่งชิงราชสมบัติและอำนาจของขุนนางฝ่ายต่าง ๆ  เนื่องจากขาดความสามัคคี และไม่มีระบบการสืบราชสมบัติที่แน่นอนขาดประสิทธิภาพ

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น