วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์สากล



ยุคก่อนประวัติศาสตร์
             ยุคหิน
ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)  
    1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช
    2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า
    3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ
    4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ
    5. รู้จักใช้ไฟ
    6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา
    7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)
    1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
    2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ
    3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น  จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ
    4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ
ยุคหินใหม่
    1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
    2. ผลิตอาหารได้เอง  รู้จักเก็บกักอาหาร  หยุดเร่ร่อน
    3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น
    4. รู้จักการทอผ้า  เครื่องปั้นดินเผา  ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ
    5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน
    6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์  เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์


ยุคประวัติศาสตร์
            
             การแบ่งสมัยในยุคประวัติศาสตร์จะแบ่งโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยเป็นตัวแบ่ง ซึ่งมีคนแบ่งเอาไว้หลายแนวทาง เพราะมันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนให้เราเห็น แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น

 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ

              ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของชาติตะวันตก เริ่มตั้งแต่เมื่อชนชาวสุเมเรียนประดิษฐ์ตัวอักษรรูปลิ่ม หรือตัวอักษรคูนิฟอร์ม ( Cuneiform ) ขึ้นใช้เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตร์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลาย เพราะถูกรุกรานโดยพวกอนารยชนเผ่าเยอรมัน ในปี ค.ศ.476 มีการก่อตัวของ อารยธรรมโดยถ่ายทอดสืบต่อกันมาเริ่มตั้งแต่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก และโรมัน

          อารยธรรมอียิปต์
          อียิปต์เป็นแหล่งอารยธรรมสมัยโบราณ ศูนย์กลางของอารยธรรมอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำไนล์ มีปราการธรรมชาติเป็นทะเลทราย ล้อมรอบ เป็นสังคมเกษตรกรรมที่พัฒนามาจนเป็นเมือง  (โมนิส) ขยายพื้นที่เพาะปลูก  สร้างเขื่อน  กษัตริย์ที่ขึ้นปกครอง เรียกว่า ฟาโรห์ เป็นกึ่งกษัตริย์กึ่งเทพเจ้า 


             อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
             บริเวณเมโสโปเตเมียก็น่าจะมีชื่ออย่างเดียวกัน ว่าเป็นของขวัญแห่งลุ่มแม่น้ำไทกริส- ยูเฟรติส” แม่น้ำ ทั้งสองมีต้นกำเนิดบริเวณที่ราบสูง อาร์มาเนียน ไหลมาทางตะวันออกเฉียงใต้ สู่อ่าวเปอร์เซียปัจจุบันนี้แม่น้ำทั้งสองไหลมา รวมกันที่บัสรา(Basra) ในสมัยโบราณนั้น จะไหลตัดเดลต้าออกจากกัน โคลนตมที่แม่น้ำ ทั้งสองพัดมาทับถมกันนั้นเป็นดินสมบูรณ์ซึ่งม ีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ดินแดนนี้มีชื่อว่า “ ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” คือ เมโสโปเตเมีย
  
  
           
            อารยธรรมโรมัน



         โรมันเป็นพวก อินโดยูโรเปียน ย้ายเข้ามาอยู่ใน  แหลมอิตาลี กลุ่มที่อพยพเข้ามา เรียกรวมๆว่า  อิตาลิก ( Italic) แต่กลุ่มคนที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ พวกลาติน ซึ่งเอาชนะชาว พื้นเมืองอีทรัสกัส และสร้างอาณาจักรโรมขึ้นมา รวมทั้งกรุงโรมด้วย


ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
              เริ่มเมื่อปีค.ศ. 476 แต่ระยะเวลาสิ้นสุดนั้น บางกลุ่มถือเอาตอนที่กรุงสแตนติโนเปิลตกเป็นของพวกเติร์ก ในปีค.ศ.1453 แต่บางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดเมื่อมีการค้นพบทวีปอเมริกา ในปีค.ศ. 1492 และบางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดลงพร้อมกับการเริ่มต้นการปฏิรูปต่างๆ ในยุโรป

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
             เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ. 1900 และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้


 เรื่องของหลักฐานทางประวัติศาตร์
         
             มีการแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทคือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ (Material Remains) กับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written accounts)

สงครามโลก
            เป็นลักษณะความขัดแย้งทางการทหารในระดับชาติ ซึ่งเกิดจากหลายชาติร่วมกัน โดยมักจะเกิดขึ้นในหลายทวีปทั่วโลกและมักจะเกิดความเสียหายไปทั่ว ในอดีตเกิดสงครามโลก 2 ครั้งคือ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914-1919 และ สงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1939-1945 ถึงแม้ว่าสงครามอื่นที่เกิดขึ้นจากหลายชาติทั่วโลก เช่น สงครามเย็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามอิรักในช่วงปี ค.ศ. 2003-2005 ยังไม่ถูกเรียกว่าเป็นสงครามโลก
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
           องค์การสันนิบาตชาติ
           ตั้งขึ้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
โครงสร้างของสันนิบาตชาติ
1. สมัชชา หมายถึง ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ
2. คณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การ ประกอบด้วย
   - สมาชิกถาวร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหภาพโซเวียต
   - สมาชิกไม่ถาวร ได้แก่ประเทศที่ได้รับเลือกจากสมัชชา หมุนเวียนกันทุกปี 4 ประเทศ
3. สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่บริหารและเลือกคณะมนตรี
4. คณะกรรมาธิการ จัดการเกี่ยวกับงานเศรษฐกิจและสังคม
5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ
ข้อเสียขององค์การสันนิบาตชาติ  ได้แก่
1. ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากสหรัฐอเมริกา
2. ไม่มีกองกำลังทหารเป็นของตนเอง
3. ประเทศสมาชิกคำนึงถึงประโยชน์ของตนมากกว่าการรักษาสันติภาพของโลก
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
           องค์การสหประชาชาติ ( The United Nations ) 
 การก่อตั้ง
1.  ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด  มหาอำนาจประชุมกันหลายครั้งเพื่อสร้างสันติภาพ  ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ  คือ  ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รุสเวลต์  แห่งสหรัฐอเมริกา  เซอร์วินสตัน เชอร์ชลส์  นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
2.  ได้กำหนดกฎบัตรแอตแลนติก  วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.1941  เพื่อจัดตั้งองค์การเพื่อทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลก  ต่อมาได้ร่วมมือกับประเทศผู้แพ้สงคราม  ลงนามในปริญญาสหประชาชาติ  วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1942  เป็นจุดเริ่มต้นของคำว่าสหประชาชาติ  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
3.  ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม , 28 กันยายน ค.ศ.1944  ฝ่ายสัมพันธมิตร  ได้จัดให้มีการประชุมที่กรุงวอชิงตัน  ที่ประชุมเสนอให้มีการจัดตั้ง  องค์การสหประชาชาติ  และประชุมอีกครั้งที่สหภาพโซเวียต  เพื่อแก้ความขัดแย้งเรื่องคณะมนตรีความมั่นคง
4.  ประเทศต่างๆ 51 ประเทศ  ได้ลงนามรับรองกฎบัตรสหประชาชาติ  ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1945
วัตถุประสงค์
1.  ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ  ระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี
2.  พัฒนาสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ
3.  แก้ปัญหาเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  มนุษยะรรมและสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชน
4.  เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและประสานงานของชาติต่างๆ
           สมัชชาใหญ่     เป็นที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิก  กำหนดกิจกรรมขององค์การ  รับรายงานเรื่องต่างๆ  ควบคุมงบประมาณ  เลิอกบุคคากรในองค์กรต่างๆ
           คณะมนตรีความมั่นคง  มีหน้าที่การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ  มีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบข้อขัดแย้งใดๆที่อาจจะกระทบต่อความมั่น คงและสันติภาพ  ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 15 ชาติ  แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
-  สมาชิกถาวร  ได้แก่  สหรัฐอเมริกา  โซเวียต  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  และจีน
-  สมาชิกไม่ถาวร  ได้แก่  สมาชิกที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้ง 10 ประเทศ  ในการลงมติต้องได้รับเสียงไม่ต่ำกว่า 9 เสียงและสมาชิกถาวรต้องไม่ออกเสียงคัดค้าน  มตินั้นจึงจะถือว่าผ่าน
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม    :  ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม
คณะมนตรีภาวะทรัสดี    :  ให้คำปรึกษาการบริหารดินแดนในภาวะทรัสดี
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  :  พิพากษาคดีข้อขัดแย้งทางกฎหมายของประเทศต่างๆ หรือหน่วยงานอื่น
องค์การพิเศษอื่นๆ
1.  สหประชาชาติจัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามความจำเป็นกรณี  เช่น  สำนักงานใหญ่ข้าหลวง  ดำเนินงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ( United Nations Commisiener for Refogees : UNHCR )  โครงการพัฒนาสหประชาชาติ  ( United Nations Development Project : UNDP )
2.  คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม  ประสานงานกับทบวงชำนัญพิเศษ  เพื่อร่วมมือดำเนินกิจกกรมระหว่างประเทศ  ปฏิบัติงานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของประชาชนในประเทศต่างๆ  เช่น  องค์การอนามัยโลก ( World Health Organixation : WHO )  องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห
ประชาชาติ ( United Nations Education , Scientific and Cutural Organization : UNESCO )  กองทุนเงินระหว่างประเทศ ( International Monelary Fond : IMF )
ข้อจำกัดบทบาทของสหประชาชาติ
1.  ปัญหาการใช้สิทธิยับยั้ง
2.  ปัญหาค่าใช้จ่ายขององค์การ
3.  ปัญหาการขาดอำนาจบังคับอย่างเด็ดขาด
4.  ความจำกัดในขอบเขตแห่งการดำเนินงาน
5.  การขยายอำนาจและแทรกแซงอำนาจของประเทศมหาอำนาจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น