วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ประวัติศาสตร์สากล
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ยุคหิน
ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)
1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า
3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ
4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ
5. รู้จักใช้ไฟ
6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา
7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)
1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ
3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ
4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ
ยุคหินใหม่
1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ผลิตอาหารได้เอง รู้จักเก็บกักอาหาร หยุดเร่ร่อน
3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น
4. รู้จักการทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ
5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน
6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์ เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์
ยุคประวัติศาสตร์
การแบ่งสมัยในยุคประวัติศาสตร์จะแบ่งโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยเป็นตัวแบ่ง
ซึ่งมีคนแบ่งเอาไว้หลายแนวทาง เพราะมันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนให้เราเห็น
แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น
ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของชาติตะวันตก
เริ่มตั้งแต่เมื่อชนชาวสุเมเรียนประดิษฐ์ตัวอักษรรูปลิ่ม หรือตัวอักษรคูนิฟอร์ม ( Cuneiform
) ขึ้นใช้เมื่อประมาณ 3,500
ปีก่อนคริสตร์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลาย
เพราะถูกรุกรานโดยพวกอนารยชนเผ่าเยอรมัน ในปี ค.ศ.476 มีการก่อตัวของ
อารยธรรมโดยถ่ายทอดสืบต่อกันมาเริ่มตั้งแต่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก
และโรมัน
อารยธรรมอียิปต์
อียิปต์เป็นแหล่งอารยธรรมสมัยโบราณ
ศูนย์กลางของอารยธรรมอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำไนล์ มีปราการธรรมชาติเป็นทะเลทราย ล้อมรอบ
เป็นสังคมเกษตรกรรมที่พัฒนามาจนเป็นเมือง
(โมนิส) ขยายพื้นที่เพาะปลูก
สร้างเขื่อน กษัตริย์ที่ขึ้นปกครอง
เรียกว่า ฟาโรห์ เป็นกึ่งกษัตริย์กึ่งเทพเจ้า
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
บริเวณเมโสโปเตเมียก็น่าจะมีชื่ออย่างเดียวกัน ว่าเป็น“ของขวัญแห่งลุ่มแม่น้ำไทกริส- ยูเฟรติส” แม่น้ำ ทั้งสองมีต้นกำเนิดบริเวณที่ราบสูง อาร์มาเนียน ไหลมาทางตะวันออกเฉียงใต้ สู่อ่าวเปอร์เซียปัจจุบันนี้แม่น้ำทั้งสองไหลมา รวมกันที่บัสรา(Basra) ในสมัยโบราณนั้น จะไหลตัดเดลต้าออกจากกัน โคลนตมที่แม่น้ำ ทั้งสองพัดมาทับถมกันนั้นเป็นดินสมบูรณ์ซึ่งม ีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ดินแดนนี้มีชื่อว่า “ ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” คือ “เมโสโปเตเมีย”
อารยธรรมโรมัน
โรมันเป็นพวก อินโดยูโรเปียน ย้ายเข้ามาอยู่ใน แหลมอิตาลี กลุ่มที่อพยพเข้ามา
เรียกรวมๆว่า อิตาลิก ( Italic)
แต่กลุ่มคนที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ พวกลาติน ซึ่งเอาชนะชาว พื้นเมืองอีทรัสกัส
และสร้างอาณาจักรโรมขึ้นมา รวมทั้งกรุงโรมด้วย
ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
เริ่มเมื่อปีค.ศ. 476 แต่ระยะเวลาสิ้นสุดนั้น
บางกลุ่มถือเอาตอนที่กรุงสแตนติโนเปิลตกเป็นของพวกเติร์ก ในปีค.ศ.1453
แต่บางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดเมื่อมีการค้นพบทวีปอเมริกา ในปีค.ศ. 1492
และบางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดลงพร้อมกับการเริ่มต้นการปฏิรูปต่างๆ ในยุโรป
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน
แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ. 1900
และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน
เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน
เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย
มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้
เรื่องของหลักฐานทางประวัติศาตร์
มีการแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทคือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ
(Material
Remains) กับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written
accounts)
สงครามโลก
เป็นลักษณะความขัดแย้งทางการทหารในระดับชาติ ซึ่งเกิดจากหลายชาติร่วมกัน
โดยมักจะเกิดขึ้นในหลายทวีปทั่วโลกและมักจะเกิดความเสียหายไปทั่ว
ในอดีตเกิดสงครามโลก 2 ครั้งคือ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ.
1914-1919 และ สงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1939-1945 ถึงแม้ว่าสงครามอื่นที่เกิดขึ้นจากหลายชาติทั่วโลก
เช่น สงครามเย็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามอิรักในช่วงปี ค.ศ.
2003-2005 ยังไม่ถูกเรียกว่าเป็นสงครามโลก
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
องค์การสันนิบาตชาติ
ตั้งขึ้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1
สิ้นสุดลง โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา
เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
โครงสร้างของสันนิบาตชาติ
1. สมัชชา หมายถึง
ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ
2. คณะมนตรี
ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การ ประกอบด้วย
- สมาชิกถาวร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี
และสหภาพโซเวียต
- สมาชิกไม่ถาวร ได้แก่ประเทศที่ได้รับเลือกจากสมัชชา หมุนเวียนกันทุกปี 4
ประเทศ
3. สำนักเลขาธิการ
ทำหน้าที่บริหารและเลือกคณะมนตรี
4. คณะกรรมาธิการ
จัดการเกี่ยวกับงานเศรษฐกิจและสังคม
5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ
ข้อเสียขององค์การสันนิบาตชาติ ได้แก่
1.
ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากสหรัฐอเมริกา
2. ไม่มีกองกำลังทหารเป็นของตนเอง
3.
ประเทศสมาชิกคำนึงถึงประโยชน์ของตนมากกว่าการรักษาสันติภาพของโลก
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติ ( The United Nations )
การก่อตั้ง
1.
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด
มหาอำนาจประชุมกันหลายครั้งเพื่อสร้างสันติภาพ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ
ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รุสเวลต์
แห่งสหรัฐอเมริกา เซอร์วินสตัน
เชอร์ชลส์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
2.
ได้กำหนดกฎบัตรแอตแลนติก วันที่ 19
สิงหาคม ค.ศ.1941
เพื่อจัดตั้งองค์การเพื่อทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลก ต่อมาได้ร่วมมือกับประเทศผู้แพ้สงคราม ลงนามในปริญญาสหประชาชาติ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1942 เป็นจุดเริ่มต้นของคำว่าสหประชาชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
3.
ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม , 28 กันยายน ค.ศ.1944 ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้จัดให้มีการประชุมที่กรุงวอชิงตัน ที่ประชุมเสนอให้มีการจัดตั้ง องค์การสหประชาชาติ และประชุมอีกครั้งที่สหภาพโซเวียต เพื่อแก้ความขัดแย้งเรื่องคณะมนตรีความมั่นคง
4.
ประเทศต่างๆ 51 ประเทศ
ได้ลงนามรับรองกฎบัตรสหประชาชาติ
ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1945
วัตถุประสงค์
1.
ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี
2.
พัฒนาสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ
3.
แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
มนุษยะรรมและสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชน
4.
เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและประสานงานของชาติต่างๆ
สมัชชาใหญ่ เป็นที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิก กำหนดกิจกรรมขององค์การ รับรายงานเรื่องต่างๆ ควบคุมงบประมาณ เลิอกบุคคากรในองค์กรต่างๆ
คณะมนตรีความมั่นคง
มีหน้าที่การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
มีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบข้อขัดแย้งใดๆที่อาจจะกระทบต่อความมั่น คงและสันติภาพ ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 15 ชาติ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
-
สมาชิกถาวร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
โซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส
และจีน
-
สมาชิกไม่ถาวร ได้แก่ สมาชิกที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้ง 10
ประเทศ ในการลงมติต้องได้รับเสียงไม่ต่ำกว่า
9 เสียงและสมาชิกถาวรต้องไม่ออกเสียงคัดค้าน
มตินั้นจึงจะถือว่าผ่าน
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม :
ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม
คณะมนตรีภาวะทรัสดี :
ให้คำปรึกษาการบริหารดินแดนในภาวะทรัสดี
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ :
พิพากษาคดีข้อขัดแย้งทางกฎหมายของประเทศต่างๆ หรือหน่วยงานอื่น
องค์การพิเศษอื่นๆ
1.
สหประชาชาติจัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามความจำเป็นกรณี เช่น
สำนักงานใหญ่ข้าหลวง ดำเนินงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัย
( United
Nations Commisiener for Refogees : UNHCR )
โครงการพัฒนาสหประชาชาติ
( United Nations Development Project : UNDP )
2.
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
ประสานงานกับทบวงชำนัญพิเศษ
เพื่อร่วมมือดำเนินกิจกกรมระหว่างประเทศ
ปฏิบัติงานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของประชาชนในประเทศต่างๆ เช่น
องค์การอนามัยโลก ( World Health Organixation : WHO ) องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห
ประชาชาติ ( United Nations
Education , Scientific and Cutural Organization : UNESCO ) กองทุนเงินระหว่างประเทศ ( International
Monelary Fond : IMF )
ข้อจำกัดบทบาทของสหประชาชาติ
1.
ปัญหาการใช้สิทธิยับยั้ง
2.
ปัญหาค่าใช้จ่ายขององค์การ
3.
ปัญหาการขาดอำนาจบังคับอย่างเด็ดขาด
4.
ความจำกัดในขอบเขตแห่งการดำเนินงาน
5.
การขยายอำนาจและแทรกแซงอำนาจของประเทศมหาอำนาจ
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ
คือ จีนกับอินเดีย
ลักษณะภูมิประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วน คือ
ส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ ประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย (ตะวันตก)
ส่วนที่เป็นเกาะ ได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย
(ตะวันออก) และติมอร์ คำว่า "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
เริ่มใช้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
หรือฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ตั้งศูนย์บัญชาการการรบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นใน
ค.ศ.1943 เพื่อทำสงครามกับญี่ปุ่น การเรียกชื่อแบบร้เพราะ
เพื่อความเด่นชัดในทางด้านภูมิศาสตร์
แว่นแคว้นโบราณในภาคพื้นทวีป
1.เวียดนาม
หลักฐานชุมชนที่เก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คือ ชุมชนชาวเหยอะและชาวโล
ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวเวียดนามในปัจจุบันชนชาติเวียดและชาวโลอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน จนถึงตอนเหนือของเว้ในปัจจุบัน
บริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงจนถึงปากแม่น้ำแดง โดยตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่
ในพ.ศ.432จีนจึงเข้ามายึดครองดินแดนบริเวณนี้และปกครองชาวเวียดนาม จนกระทั่งถึง
พ.ศ. 1511 เวียดนามได้ประกาศตนเป็นเอกราช และแต่งตั้งเมืองหลวง คือถังหลวง
(ฮานอยในปัจจุบัน)
จากการที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของจีนมานานนับพันปี
ทำให้ชาวเวียดนามผูกพันอย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรมจีน
โดยรับวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน
2.จามปา
ดินแดนของจามปาในอดีต ได้แก่
ส่วนที่เป็นดินแดนตอนกลางของประเทศเวียดนาม
ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์จดหมายเหตุจีนบอกรายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีแต่งงานว่ามักทำในเดือน
8 โดยฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายสู่ขอชาย บ้านเรือนราษฎรสร้างด้วยอิฐก่อเป็นอาคาร
เมื่อตายใช้ผ้าห่อศพเรียบร้อยแล้วแห่ไปยังแม่น้ำหรือทะเลแล้วเผาศพที่นั่น
นำเถ้าถ่านทิ้งน้ำ เมืองหลวงของจามปา คือ เมืองอินทรปุระ จามปาต้องเผชิญกับการรุกรานของรัฐข้างเคียงที่เข้มแข็งกว่า
เช่น เวียดนาม จีน และกัมพูชา และสูญเสียเอกราชแก่เวียดนาม เมื่อ พ.ศ. 2014
ชาวจามปาต้องอพยพหลบหนีออกไปอยู่ต่างแดนกระจัดกระจาย
จามปาก็ล่มสลายไปตั้งแต่ครั้งนั้น
3.เจนละ
มีศูนย์กลางอยู่ในดินแดนลาวตอนล่าง
จากหลักฐานที่พบที่เมืองศรีเทพ และที่จังหวัดสระบุรี
ทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนแถบนี้ก็อยู่ในเขตอิทธิพลของเจนละด้วย กษัตริย์ที่
เข้มแข็งที่สุดของเจนละ คือ พระเจ้าอิสานวรมัน ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง
เจนละรับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อย่างเคร่งครัด มีการสร้างเทวาลัย เทวรูป
ปราสาทหิน มีพิธีบูชาเทพเจ้าในเทวาลัยบนยอดเขาและใช้ภาษาสันสกฤต
เจนละเสียอำนาจแก่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2
ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ฟูนัน
ล้มล้างอำนาจของเจนละและสถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้น
4.มอญ
ตั้งอยู่บริเวณระหว่างที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสะโตงและแม่น้ำสาละวิน
จากหลักฐานชาวอาหรับเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า รามัญประเทศ
และพงศาวดารมอญกล่าวว่าชาวมอญได้สร้างเมืองตะโทงหรือเรียกกันว่า ท่าตอน
เป็นเมืองหลวงใน พ.ศ. 241 และเจริญรุ่งเรืองมาจนถึง พ.ศ. 1600
ชาวพม่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศพม่าปัจจุบันได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็นอาณาจักรพุกามที่มีความเข้มแข็งตามลำดับ
ได้ยกทัพมาโจมตีมอญและครอบครองได้สำเร็จ
ทั้งนี้ทำให้พม่าได้ยอมรับวัฒนธรรมของมอญที่ชาวมอญเป็นผู้ถ่ายทอดให้ไปปฏิบัติ
เช่นการนับถือพระพุทธศาสนานิกายหีนยาน เป็นต้น
5.พุกาม
ดินแดนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีของพม่าเดิมมีชาวมอญได้มาสร้างบ้านเรือนเป็นอาณาจักรมอญ
และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่14
ชาวพม่าที่อาศัยอยู่ทางเหนือของประเทศพม่าในปัจจุบันได้ขยายอำนาจมายังที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีแทนที่อาณาจักรของมอญ
ต่อมา พ.ศ. 1587 ผู้นำชาวพม่า คือ พระเจ้าอโนรทา
สามารถก่อตั้งอาณาจักรพุกามเป็นปึกแผ่นขึ้นได้สำเร็จ และมีความเจริญรุ่งเรือง
สามารถขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง
ซึ่งความเจริญรุ่งเรืองดังกล่าวเห็นได้จากการสร้างวัดขนาดใหญ่จำนวนมาก
จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 19 จึงสลายตัวเนื่องจากถูกกองทัพของมองโกลยึดครองได้เมื่อ
พ.ศ. 1830
6.ทวารวดี
ทวารวดีเป็นอาณาจักรโบราณสมัยประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานแห่งแรกบนผืนแผ่นดินไทย
เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง เช่น บันทึกการเดินทางของหลวงจีนอี้จิง
ทำให้ทราบว่าอาณาจักรทวารวดีอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันตกของภาคกลางสันนิษฐานว่าศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีอยู่ที่จังหวัดนครปฐมและจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครชัยศรี
(นครปฐม)
พบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่แสดงถึงการเป็นเมืองสำคัญของนครปฐมในสมัยทวารวดี เช่น
พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรมจักรและโบราณสถานขนาดใหญ่
เช่น เจดีย์จุลประโทนและฐานอาคารที่วัดพระเมรุ
นอกจากนี้ยังได้พบเหรียญเงินที่มีจารึกชื่อทวารวดีในเมืองใกล้เคียง ได้แก่
สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ช่วงระยะที่อาณาจักรแห่งนี้ดำรง
อยู่คงจะประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 - 12
7. หริภุญชัย
ตั้งอยู่ที่เมืองหริภุญชัย
(ลำพูน) เป็นอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของเมืองต่างๆ
ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนและที่ราบลุ่มแม่น้ำวัง
ตำนานเมืองหริภุญชัยหรือตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวถึงการตั้งเมือง หริภุญชัยว่า
ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมือง หริภุญชัยและขอให้กษัตริย์ละโว้ ส่งเชื้อพระวงศ์มาปกครอง
กษัตริย์ละโว้จึงส่งพระนางจามเทวี
ผู้เป็นพระราชธิดาเลี้ยงและสะใภ้หลวงมาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย
พระนางจามเทวีได้ขอช่างฝีมือจากละโว้ไปช่วยสร้างเมือง หริภุญชัยและเชิญพระสงฆ์ 500
รูป มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่หริภุญชัย
ทำให้หริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ลัทธิลังกาวงศ์ และศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา
ดังที่มีหลักฐานมาจนถึงปัจจุบัน คือ พระธาตุหริภุญชัย ซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองลำพูน
ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าอาทิตยราชเป็นผู้สร้างเจดีย์หริภุญชัย
ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกาและเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำพูนอย่างสูง
8.ละโว้
เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยทวารวดี
ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน
การที่ละโว้ตั้งอยู่บริเวณที่มีแม่น้ำสายสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี จึงเป็นอาณาจักรที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีเส้นทางติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
ที่ราบสูงโคราช และเขตติดต่อกับทะเลสาบเขมร
ทำให้ละโว้เป็นแหล่งทรัพยากรและศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนโดยรอบ
ส่งผลให้ละโว้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดีและการติดต่อกับชุมชนภายนอก
ทำให้ละโว้ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ ที่สำคัญคือจากอินเดีย
เมื่อขอมหรือเขมรขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ละโว้จึงกลายเป็นเมืองประเทศราชของเขมรและรับอารยธรรมเขมรด้วย
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นช่วงที่อาณาจักรละโว้ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียค่อน
ข้างมาก โดยรับแนวคิดเรื่องการมีกษัตริย์ปกครอง มีการแบ่งชนชั้นออกเป็นชนชั้นสูง
สามัญชน และทาส
การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาที่ผู้คนให้การเคารพนับถือมากใน ละโว้
ทั้งนี้เพราะพบจารึกภาษาบาลีที่กล่าวถึงการอุทิศถวายสิ่งของ ข้าทาสให้แก่วัด และพบประติมากรรม
เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักร เป็นต้น
นอกจากนี้พระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ได้เผยแผ่อยู่ในละโว้
ดังพบพระพิมพ์ที่มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับข้างพระพุทธเจ้ารวมทั้งการมีความเชื่อในศาสนพราหมณ์-ฮินดู
ที่เข้ามาโดยพวกพราหมณ์และชนชั้นปกครองและความเชื่อพื้นเมือง ได้แก่
การบูชาบรรพบุรุษและการบูชารูปพระราชมารดาอีกด้วย
แว่นแคว้นโบราณในคาบสมุทรและหมู่เกาะ
1. ทุน ซุน
จากบันทึกชาวจีนกล่าวว่าทุนซุนตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูทางใต้ของฟูนัน
ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่บริเวณคอคอดกระ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของไทย
ทุน
ซุนถือเป็นเมืองที่ควบคุมเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรที่สามารถติดต่อกับอ่าวตังเกี๋ยทางทิศตะวันออกและอินเดียทางทิศตะวันตกได้
2.ตามพรลิงค์
เป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่สุดทางภาคใต้ของไทย
มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช โดยมีหลักฐานที่กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
8 ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18
ตามพรลิงค์เปลี่ยนชื่อเป็น นครศรีธรรมราช และราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 มีอิทธิพลครอบคลุมบรรดาหัวเมืองและแว่นแคว้นอื่นๆ ทั่วแหลมมลายู
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในปลายพุทธศตวรรษที่
20
อาณาจักรนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าของพ่อค้าชาวอินเดีย
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10
ในระยะแรกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย แต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง
ทำให้ตามพรลิงค์ขยายตัวกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการเมืองในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้แทน
และจากหลักฐานจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ว่าเป็นเมืองท่าการค้าที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากับจีนมากชนิดกว่าที่อื่น
และได้ส่งคณะทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการกับจีนใน พ.ศ.1613
ซึ่งแสดงว่าตามพรลิงค์เป็นรัฐอิสระ
3. พัน พัน
จากบันทึกชาวจีนกล่าวว่า พัน พัน
ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูแถบริมฝั่งทะเล
ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่บริเวณอำเภอพุนพินหรือบริเวณอ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานีของไทยในปัจจุบัน
4. ลังกาสุกะ
ก่อตั้งขึ้นราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 7 มีหลักฐานปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์เหลียง
ที่กล่าวถึงอาณาจักรลังกาสุกะ โดยเรียกชื่อว่า “หลวงหยาซิ่ว”
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดปัตตานีและยะลา
มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ลังกาสุกะเป็นอาณาจักรที่เติบโตมาจากการเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติโดยเฉพาะจีนแลอินเดีย
แต่มีความใกล้ชิดกับจีนมากกว่า โดยมีหลักฐานจีนบันทึกไว้ว่า
ลังกาสุกะส่งทูตไปเมืองจีนหลายครั้ง
5. ฉีตู
จากบันทึกชาวจีนกล่าวว่า
ฉีตูตั้งอยู่ทางใต้ของตามพรลิงค์
ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่ามีเมืองหลวงอยู่บริเวณกลันตัน พัทลุง หรือนครศรีธรรมราช
6. ตักโกลา
ตั้งอยู่ฝั่งทะเลด้านตะวันตกของคาบสมุทร
สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่บริเวณอ่าวพังงาและตะกั่วป่า ในอดีตเมืองตักโกลาเป็นเมืองท่าสำคัญที่พ่อค้าและนักเดินเรือทั้งชาวจีนและอินเดียรู้จักเป็นอย่าดี
7. ศรีวิชัย
ได้ปรากฏนามเป็นครั้งแรกจากเอกสารจีน
และต่อมาเมื่อมีการค้นพบศิลาจารึกและบันทึกของชาวอินเดียที่มีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
7-8 ก็เป็นสิ่งยืนยันถึงการมีอยู่ของอาณาจักรแห่งนี้
อาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา
ประเทศอินโดนีเซีย
มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่เกาะชวาในอินโดนีเซียขึ้นมาถึงเมืองไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเพราะอยู่ในเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างจีน
อินเดีย และอาหรับ เป็นเมืองที่เกิดจากการรวมตัวกันของเมืองท่าบริเวณช่องแคบมะละกา
เอกสารร่วมสมัยของชาวต่างชาติที่เคยเดินทางมายังอาณาจักรแห่งนี้ระบุว่า
ศรีวิชัยเป็นดินแดนที่มั่งคั่งร่ำรวย
พลเมืองที่อยู่ในอาณาจักรศรีวิชัยเป็นชาวพื้นเมืองปะปนกับพ่อค้าต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาตั้งหลักแหล่งในเวลาต่อมา
โดยมีกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ปกครองอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ชวา
อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่
11 เพราะถูกอาณาจักรโจฬะ
ซึ่งปกครองอินเดียตอนใต้ส่งกองทัพเรือเข้าโจมตีอาณาจักรศรีวิชัยและเมืองอื่นๆ
ในอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย ทำให้อำนาจทางการเมืองของศรีวิชัยสิ้นสุดลง
ส่วนอำนาจทางการค้าเริ่มตกต่ำลงเมื่อจีนเริ่มแต่งเรือสำเภาออกไปค้าขายยังเมืองต่างๆเองอาณาจักรศรีวิชัยในฐานะพ่อค้าคนกลางจึงลดบทบาทลงไป
เหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
เหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
รุ่งอรุณของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 กำลังทหารบก ทหารเรือ ก็ได้มารวมกันที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
ทั้งหมดเป็นกองกำลังในพระนคร บุคคลเหล่านี้มารวมกันโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว
จากคำสั่งปลอมทั้งของกองทัพบกและกองทัพเรือ ส่วนนายทหารอื่น ๆ
ที่คุมกำลังได้ตามเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน
พวกที่รู้ตัว ได้แก่ ผู้นำก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ซึ่งได้ถือโอกาสประกาศคำสั่งของคณะปฏิวัติต่อทหารบกและทหารเรือที่มาชุมนุมกัน ณ
ที่นั้น ผู้ที่ประกาศคำสั่งของคณะปฏิวัติก็คือ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
ซึ่งขึ้นไปยืนอยู่บนรถถังร้องประกาศแก่เหล่าทหารที่มาชุมนุมกันว่า
บัดนี้คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เพื่อที่จะจัดตั้งรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยขึ้นปกครองประเทศ
ทหารทั้งหลายพากันโห่ร้องต้อนรับคณะปฏิวัติ
เนื่องจากมีความไม่พอใจระบอบการปกครองแบบเก่าอยู่แล้ว
แต่บางคนก็จำใจทำไปอย่างสับสนต่อเหตุการณ์ขณะนั้น
คณะปฏิวัติได้ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้โดยสิ้นเชิง
และได้เชิญเจ้านายและพระราชวงศ์บางพระองค์ที่คุมกำลังทหารมากักไว้โดยให้ประทับอยู่ภายในพระนั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นองค์ประกันของคณะราษฎร
โดยเฉพาะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชอำนาจมากที่สุด
โดยคุมกำลังทหารและพลเรือนของประเทศส่วนใหญ่ไว้
และได้ทูลให้ลงพระนามประกาศที่คณะราษฎรนำมาถวายซึ่งมีข้อความว่า
“ด้วยตามที่คณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้โดยมีความประสงค์ข้อใหญ่ที่จะให้ประเทศสยามได้มีธรรมนูญการปกครองแผ่นดินนั้น
ข้าพเจ้าขอให้ทหาร ข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายจงช่วยกันรักษาความสงบ
อย่าให้เสียเลือดเนื้อ ของคนไทยด้วยกันโดยไม่จำเป็นเลย ”
คณะปฏิวัติได้อาศัยประกาศนี้ซึ่งเป็นเสมือนคำรับรองจากผู้มีอำนาจสูงสุดขณะนั้นออกคำสั่งให้ส่วนราชการทุกแห่งทั่วประเทศรวมทั้งกำลังทหารหัวเมืองควรปฏิบัติหน้าที่ไปตามปกติ
โดยไม่มีการหยุดชะงักใด ๆ เลย
ฝ่ายพลเรือนของคณะปฏิวัตินำโดยนายควง
อภัยวงศ์ ได้ปฏิบัติงานในวันนี้ด้วยเช่นกัน โดยออกตระเวนตัดสายโทรเลข โทรศัพท์
ทั้งพระนครธนบุรี
เพื่อปิดกั้นการติดต่อสื่อสารและสั่งการในสายการบังคับบัญชาหรือติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ทรงประทับอยู่
ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ มันสมองของคณะปฏิวัติได้จัดทำแถลงการณ์ของคณะปฏิวัติเพื่อแจกและแถลงต่อสื่อมวลชนในวันปฏิวัตินั้นด้วยเช่นกัน
เมื่อเหตุการณ์ภายในพระนครวังเป็นไปด้วยดี
คณะราษฎรก็ได้ทำหนังสือราชการซึ่งลงนามโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์ส่งไปกราบถวายบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
7 ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน
และอัญเชิญในหลวงกลับสู่พระนครเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินซึ่งคณะราษฎรได้ร่างขึ้น
ในวันที่ 25 มิถุนายน 2475
คณะราษฎรก็ได้รับคำตอบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากหัวหิน แจ้งว่าพระองค์ทรงยอมรับความสิ้นสุดแห่งพระราชอำนาจสิทธิของพระองค์
และทรงรับทราบถึงการตั้งรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย
ในแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ พระองค์ได้ทรงมีรับสั่งด้วยว่า
พระองค์เองก็ได้ทรงคิดที่จะให้ประเทศไทยได้มีรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วเหมือนกันและทรงตั้งพระทัยว่า
พระองค์จะทรงดำรงตำแหน่ง องค์พระประมุขของรัฐ
และได้ทรงพระราชทานอภัยโทษโดยลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายนิรโทษกรรมซึ่งร่างขึ้นทูลถวายโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
นิรโทษกรรมให้แก่คณะราษฎรผู้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินในครั้งนั้น รวมความแล้วความสำเร็จในการปฏิวัติครั้งนี้
ส่วนสำคัญประการหนึ่งขึ้นอยู่กับความว่องไวของคณะราษฎรและการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดตามกฎระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของฝ่ายรัฐบาลคือ
ทราบแผนการปฏิวัติก่อนแต่อ้างว่ายังไม่มีอำนาจจับกุม
หลังจากได้ปรึกษากับกระทรวงยุติธรรมแล้ว ความชักช้าเหล่านี้เอื้ออำนวยให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นไปโดยสะดวกตามแผนที่วางไว้สมบูรณ์ที่สุด
แนวนโยบายและหลักการของคณะราษฎร
แนวนโยบายของคณะราษฎรซึ่งกำหนดขึ้นมีอยู่ด้วยกัน 10 ประการ ซึ่งกำหนดเป้าหมายกว้าง ๆ
เพื่อให้งานของคณะราษฎรสำเร็จลุล่วงตามความประสงค์ก็คือ
1. ต้องให้มีพระเจ้าแผ่นดินตลอดไป
2. ต้องทำเพื่อประชาธิปไตย
3. ต้องฟังความเห็นซึ่งกันและกัน
4. ต้องมีความเห็นอันเที่ยงตรง
5. ต้องทำเพื่อมุ่งจรรโลงประเทศให้ก้าวหน้า
6. ต้องไม่ทรยศต่อประเทศชาติ
7. ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต
8. ต้องไม่เย่อหยิ่งลืมตัว
9. ต้องมีความประพฤติดี
10. ต้องรักษาหน้าที่โดยเด็ดขาดและเที่ยงตรง
ส่วนหลักการของคณะราษฎรนั้นศึกษาได้จากประกาศของคณะราษฎรดังนี้คือ
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง การศาล
ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ
ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ
ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน
(ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ
มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 5 ประการดังกล่าวข้างต้น
6.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
จากแนวนโยบายและคำประกาศของคณะราษฎรบอกให้เข้าใจถึงสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นสาหตุของการปฏิวัติ
พ.ศ.2475 และหลังจากการปฏิวัติสำเร็จลงแล้ว
ผู้นำการปฏิวัติได้วางหลักการปกครองบ้านเมืองไว้ด้วยโดยครอบคลุมด้านการเมือง
เศรษฐกิจและสังคม เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ 3 วัน คือในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้
โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้ร่างและนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
นับว่าเป็นการมอบอำนาจการปกครองแก่คณะราษฎรเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้ามาปกครองประเทศตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้จึงมีผลเป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์และเป็นกฎหมายที่เริ่มศักราชใหม่แห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ในด้านการปกครองได้มีการตั้งผู้นำฝ่ายบริหารราชการแผ่นดินอย่างรีบด่วนคือ
ให้พันเอกพระยาพหลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารและได้ประกาศแต่งตั้งผู้แทนราษฎรชุดแรกขึ้นจำนวน
70 คน โดยคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิในคณะราษฎร และอื่น ๆ
และได้มอบอำนาจการปกครองแผ่นดินให้แก่สภาผู้แทนราษฎร
(เป็นสภาเดียวสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด) ซึ่งเปิดประชุมครั้งแรกในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475
จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 28 นั้น
ได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐบาลชั่วคราวขึ้นโดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานคณะกรรมการราษฎร
และมีกรรมการราษฎรอีก 14 นาย ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
ดังนั้นรัฐบาลจึงเป็นรัฐบาลภายใต้รัฐสภาคือ ฝ่ายบริหารอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐสภาโดยตรงและฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจยุบสภา
สภาผู้แทนได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศต่อไป
และเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้ ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2475
ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย
ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย
มีดังนี้
ครั้งที่ 1
เสียเกาะหมาก (ปีนัง)
ให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ 11
สิงหาคม 2329 พื้นที่ 375
ตร.กม. ในสมัย ร.1 เกิด จากพระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก
เพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป
ครั้งที่
2 เสียมะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ 16 มกราคม 2336
พื้นที่ 55,000 ตร.กม. ในสมัย ร.1
แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย
มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ 1 ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้
ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป
ครั้งที่ 3 เสียบันทายมาศ
(ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2353
ในสมัยรัชกาลที่ 2
ครั้งที่ 4 เสียแสนหวี
เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.2368
พื้นที่ 62,000 ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ 3 แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่
1 โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ 20 ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ไกล
ประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และเกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ (กลันตัน
ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง
หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง
ครั้งที่ 5 เสียรัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3
เป็นการสูญเสีย
ที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง 1 ปี
ครั้งที่ 6 เสียสิบสองปันนา ให้กับจีนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2393
พื้นที่ 90,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน
เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง
แสนหวีฟ้า มหาอุปราช หนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง
(ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน
มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท
(ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป
ครั้งที่ 7 เสียเขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410
พื้นที่ 124,000 ตร.กม. ในสมัย ร.4
ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครอง
จากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดน
เขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต
ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจาก
ฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ 15 มกราคม 2438
โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน
ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.5
ที่ไปประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย
ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป
ครั้งที่ 8 เสียสิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ)
ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 22 ธันวาคม 2431 พื้นที่
87,000 ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ 5 พวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทยจัด กำลังไปปราบ 2กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน
อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล
โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลัง จากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ
อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด
ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา
เมืองไลและเมืองเชียงค้อ
ครั้งที่ 9 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13
เมืองกะเหรี่ยง)
ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 5
เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์
เศรษฐกิจและทรัพยากรอันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง
ครั้งที่ 10 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
(อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 3 ตุลาคม 2436
พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร
ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญา ไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ
ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย 1
ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย
เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก ๓ ล้านบาท และยังไม่พอ ฝรั่งเศสได้
ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15
ปี
นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุด ของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่องแต่งกาย
เพื่อนำเงินมาถวาย ร.5 เป็นค่าปรับ ร.5 ต้องนำถุงแดง
(เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้
ครั้งที่ 11
เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง
(ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่านคือ จำปาสัก และไซยะบูลี)
ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ 12 พฤษภาคม 2446 พื้นที่
25,500 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืน
จันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรี แล้วไปยึด เมืองตราดแทนอีก 5 ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้ว ยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่
พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย
ครั้งที่ 12 เสียมลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 23 มีค. 2449
พื้นที่ 51,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5
ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส
เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย
ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับ ของฝรั่งเศส ในประเทศไทย
เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมาก เพื่อสิทธิการค้าขาย
ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ 6
กรกฎาคม 2450 กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย
ครั้งที่ 13 เสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี,
ปริส ให้กับอังกฤษเมื่อ 10 มีนาคม 2451
พื้นที่ 80,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5
ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ
เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย
ครั้งที่ 14 เสียเขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ 15 มิถุนายน 2505
พื้นที่ 2 ตร.กม. ในสมัย ร.9
ตามคำพิพากษาของศาลโลก
ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจาก หลักฐานสำคัญของเขมร
ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ จะเสด็จเขาพระวิหาร
จึงขึ้นไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วถ่ายรูปไว้เป็น หลักฐาน
และนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก ด้วยเสียง 9 ต่อ 3
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)